ประวัติเครือข่าย
ความเป็นมาของเครือข่ายการวิจัยภาคเหนือตอนบน เป็นเครือข่ายการวิจัย 1 ใน 9 ของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ภายใต้โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก โดยการสนับสนุนของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพัฒนาและสร้างงานวิจัยให้สอดคล้องกับ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากของแต่ละเครือข่าย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เริ่มดำเนินโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากในปี พ.ศ.2546 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และเชื่อมโยงกับเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น โดยนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาถ่ายทอดทักษะความ รู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่ชุมชนท้องถิ่น สามารถ ยกระดับขีดความสามารถด้านการผลิตและการจัดการ ของเศรษฐกิจชุมชน รวมถึงการ สร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง เพิ่มโอกาสในการสร้างอาชีพ รายได้ และการพึ่งพาตนเองส่งผลต่อการสร้างความเข้มแข็งทางสังคมอย่างยั่งยืน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยและนวัตกรรมฯ คือ
- เครือข่ายฯ มีการบริหารจัดการด้วยระบบงานวิจัยเชิงบูรณาการ
- เครือข่ายฯ มีการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย
- เครือข่ายฯ มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
จาก ที่เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินการโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก” ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “ชุมชนภาคเหนือเป็นสังคมฐานความรู้ที่นำไปสู่ คุณภาพชีวิตที่ดี และความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมฐานราก” ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน โดยได้สนับสนุนให้นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาโครงการวิจัยที่เน้น กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเป้าหมายแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐาน ราก อีกทั้งมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ใน 25 สถาบันการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ ที่กำหนด เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนจึงได้กำหนดแนวทางการวิจัยโดยเน้นใน เรื่อง “การจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดย ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง” ตลอดระยะเวลา 8 ปี (พ.ศ. 2546 – 2553) ของการสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและ นวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากจำนวน 200 กว่าโครงการวิจัย ซึ่งได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย เป็นองค์ความรู้ในด้านการจัดการทรัพยากรชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการ พัฒนาเศรษฐกิจ ระดับชุมชนฐานรากภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยี และข้อมูลทางวิชาการ ก่อให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การจัดการทรัพยากรชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชน ปีงบประมาณ 2554 เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนซึ่งได้พัฒนาให้เกิดความร่วมมือและ การเชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ชุมชนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนการเชื่อมประสานสู่นโยบาย การพัฒนาระดับท้องถิ่น ในการค้นหาปัญหาหรือความต้องการ และร่วมแก้ไขปัญหาชุมชนผ่านกระบวนการวิจัย จึงได้ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดรูปแบบการดำเนินงานวิจัยแบบบูรณา การร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบนโดยมีเป้าหมายใน การร่วมกันพัฒนาให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและ สังคมฐานรากในชุมชนภาคเหนือตอนบน ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงบูรณา การแบบมีส่วนร่วมโดยมีนักวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรชุมชน ตลอดจนกลุ่มประชาชนที่เป็นผู้รับประโยชน์จากการวิจัย สนับสนุนให้นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาได้นำ องค์ความรู้สู่ชุมชนที่สอดรับกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรม และก่อให้เกิดกลุ่มเครือข่ายการดำเนินกิจกรรมททางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่ยั่งยืน
ซึ่งโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก นี้ มีการดำเนินการพร้อมกันใน 9 เครือข่ายวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อันได้แก่
- เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
- เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนล่าง
- เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคกลางตอนบน
- เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคลางตอนล่าง
- เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้ตอนบน
- เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง
- เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
- เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
- เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคตะวันออก
พื้นที่รับผิดชอบและสมาชิกเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ใน พื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วย 8 จังหวัดอันได้แก่ จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ที่อยู่ในความดูแลของเครือข่ายการวิจัยภาคเหนือตอนบน โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกำหนดให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำหน้าที่ เป็นแม่ข่าย ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาร่วมเป็นสมาชิกจำนวน 27 สถาบัน ได้แก่
วิสัยทัศน์
“เป็นเครือข่ายบริหารจัดการงานวิจัยที่เป็นเลิศ ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อชุมชนฐานรากอย่างมีส่วนร่วม”
พันธกิจ
บริหารจัดการระบบวิจัยเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เสริมสร้างนักวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนฐานราก บริหารเครือข่ายฯ อย่างมีหลักธรรมาภิบาล
เป้าหมาย
มี กลไกการจัดการงานวิจัยเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งใน ด้านเงินทุน โครงการ หน่วยงานวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย มี นักวิจัยเพื่อชุมชนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่องทั้งนักวิจัย ใหม่ นักวิจัยชำนาญการ นักวิจัยเชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษา ภาคชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนฐานรากและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชุมชน มีการบริหารเครือข่ายฯ แบบมีส่วนร่วมที่โปร่งใส ตรวจสอบได้
ยุทธศาสตร์เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน ปีงบประมาณ 2559 – 2563
ยุทธศาสตร์ที่ 1 บริหารจัดการระบบวิจัยเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามหลักธรรมาภิบาล บริหารจัดการเครือข่ายโดยคณะกรรมการบริหารงานเครือข่าย สนับสนุนงานวิจัยเชิงบูรณาการกับหน่วยงานภายนอก พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่บริหารจัดการงานเครือข่าย พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย (สารสนเทศ ฐานข้อมูล แหล่งทุน เผยแพร่) พัฒนาระบบสารสนเทศการติดตาม สนับสนุน และประเมินการวิจัย แสวงหาแหล่งทุนเพื่อสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการ พัฒนาระบบการจัดสรรทุนสนับสนุนการวิจัยอย่างเป็นธรรม พัฒนาระบบตรวจสอบ การบริหารจัดการที่โปร่งใส โดยผู้แทนจากภายนอก เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของเครือข่ายอย่างทั่วถึงต่อเนื่องและทันการณ์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างศักยภาพนักวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่จากทุกภาคส่วนผ่านการสนับสนุนจากเครือข่าย การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนางานวิจัยอย่างเป็นระบบ พัฒนาระบบนักวิจัยพี่เลี้ยงและเครือข่ายนักวิจัย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง พัฒนาโจทย์และข้อเสนอโครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน สนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ